1. น้ำหนักมาตราฐาน (Basis Weght หรือ Grammage) หมายถึง น้ำหนักของกระดาษ ต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ ที่เก็บในสภาวะอุณหภูมิและความขึ้น ที่ได้มีการควบคุมตามมาตรฐานกำหนด น้ำหนัก มาตรฐานของกระดาษจะเป็นประโยชน์ ในด้านการควบคุมการผลิตกระดาษ โดยจะควบคุมปริมาณเนื้อกระดาษที่ ใช้ หน่วยที่ใช้วัดน้ำหนักมาตรฐานของกระดาษจะเป็น กรัมต่อตารางเมตร ตามระบบสากลทั่วไป แต่บาง ประเทศจะมีการใช้เป็นหน่วยปอนด์ต่อตารางฟุต หรือปอนด์ต่อ 3,000 ตารางฟุต ในปัจจุบันมาตรฐาน ISO และ Tappi ซึ่งเป็นมาตรฐานในการทดสอบกระดาษให้ใช้คำ ว่า "แกรมเมจ" (Grammage) แทนน้ำหนักมาตรฐาน น้ำหนักมาตรฐานของกระดาษ นอกจากใช้เป็นเกณฑ์ใน การซื้อขายกระดาษแล้ว ยังสามารถเปรียบเทียบสมบัติอื่น ๆ ของกระดาษได้ด้วย เมื่อเปรียบเทียบระหว่าง กระดาษประเภทเดียวกัน ที่ผ่านกระบวนการผลิตด้วยสภาวะต่าง ๆ เหมือนกัน กระดาษที่มีน้ำหนักมาตรฐาน มากกว่าจะมีความแข็งแรง ความหนา และความทึบแสงมากกว่ากระดาษ ที่มีน้ำหนักมาตรฐานต่ำกว่า
2. ความหนา (Caliper) หมายถึง ระยะห่างที่ตั้งฉากระหว่างผิวด้านบน และผิวด้านล่าง ของกระดาษภายใต้สภาพวะการทดสอบที่กำหนด หน่วยที่ใช้ในสหรัฐอเมริกาจะระบุเป็นนิ้ว (Inches) หรือ มิล (Mil) ในระบบ SI จะวัดเป็นหน่วยไมโครเมตร (Micrometer) แต่ส่วนใหญ่จะวัดเป็นมิลลิเมตร (millimeter) ความหนาของกระดาษจะมาก หรือ น้อยขึ้นอยู่กับ น้ำหนักมาตรฐาน แรงกดของลูกขณะเดินแผ่น การบดเยื่อและชนิดของเยื่อที่ใช้ ความหนาแน่นปกติได้จากความสัมพันธ์ ระหว่างมวลต่อปริมาตร สำหรับในวงการ กระดาษจะหาความสัมพันธ์ ระหว่างความหนาและน้ำหนักมาตรฐาน ได้เป็นความหนาแน่นเสมือน (Apparent Density) ซึ่งจะเป็นการเทียบหาความหนาแน่นของกระดาษ ที่ระดับน้ำหนักมาตรฐานเดียวกัน อาจมีความหนา ไม่เท่ากัน กระดาษที่มีน้ำหนักเท่ากัน แต่มีความหนาของกระดาษต่างกัน กระดาษที่มีความหนามากจะให้ค่าความ หนาแน่นเสมือนน้อย ความหนาของกระดาษมีความสำคัญ เพราะเครื่องพิมพ์ในแต่ละระบบการพิมพ์ หรือ เครื่องพิมพ์ในระบบการพิมพ์ หรือ เครื่องพิมพ์ในระบบการพิมพ์เดียวกัน แต่ผลิตจากผู้ผลิตต่างรายกันไม่สามารถ พิมพ์ได้ในทุกความหนา การพิมพ์กระดาษที่มีความหนาต่างกัน ต้องมีการปรับตั้งส่วนตาง ๆ ของเครื่องพิมพ์ แตกต่างกัน เพื่อให้สภาพการเดินกระดาษคล่องบนเครื่องพิมพ์มีมากที่สุด
3. ความสม่ำเสมอของเนื้อกระดาษ (Formation) หมายถึง ความแตกต่างของปริมาณ เส้นใยที่เกี่ยวประสานหรือเกิดพันธะเคมีต่อกัน ในแต่ละบริเวณของกระดาษ นับว่าเป็นสมบัติที่สำคัญอย่างหนึ่ง สำหรับกระดาษพิมพ์ เมื่อนำกระดาษเนื้อไม่สม่ำเสมอกัน (Wild Formation) ไปพิมพ์ที่มีคุณภาพไม่ดี ความไม่สม่ำเสมอกันของเนื้อกระดาษเกิดขึ้น จากวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตกระดาษ เช่น เส้นใย สารเติมแต่งต่าง ๆ ที่ นำมาผสมกันมีความแตกต่างกันในขนาด รูปร่าง ความหนาแน่น ดัชนีหักเหของแสงและองค์ประกอบทางเคมี นอกจากนี้ ยังขึ้นกับขั้นตอนการผสมและการเดินแผ่น ซึ่งล้วนแต่มีผลต่อการกระจายตัว และจับตัวของสารผสม เหล่านี้ทั้งสิ้น
|